ฟังนิทานจากแดนอาทิตย์อุทัย…ที่มูลนิธิสิกขาเอเชีย "เอื้อยนาง" |
![]() ภาพที่ 1 มูลนิธิสิกขาเอเชีย |
เป็นองค์กรในด้านห้องสมุดเพื่อชุมชนโดยเฉพาะปัจจุบันมีสาขาที่พะเยาด้วย |
![]() ภาพที่ 2 ห้องสมุดเคลื่อนที่ของมูลนิธิสิกขาเอเชีย |
งานเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 9 นาฬิกา ประธานเปิดงานโดย คุณประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ผู้เข้าร่วมได้รับเชิญจากหลาย ๆ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็ก และหนังสือเด็ก คุณครู ประทีปได้กล่าวในพิธีเปิด ความตอนหนึ่งว่า เราจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้หนังสือเป็นแค่กระดาษเปื้อนหมึก ญี่ปุ่นนั้นเขาทุ่มเทมากในเรื่องการศึกษา การสร้างคน เพื่อคนจะได้สร้างชาติ เด็กญี่ปุ่นส่วนมากติดหนังสือ ขณะเด็กเรากลับติดเกม หวังว่าการอบรมครั้งนี้จะลงสู่เด็กของเรา ช่วยเขาเรียนรู้ด้วยหนังสือดังจุดมุ่งหมายของการอบรม |
![]() ภาพที่ 3 พิธีเปิดงาน |
จากนั้นกลุ่มโอซาก้า ไม่เป็นไร ทำหน้าที่เป็นวิทยากรนำเสนอเรื่อง “พลังแห่งหนังสือภาพ” กลุ่มโอซาก้า ไม่เป็นไร ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเด็ก ด้านหนังสือภาพ การใช้หนังสือภาพบำบัดเพื่อเด็กป่วย เด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส และเด็กทั่ว ๆ ไป สมาชิกและผู้บริหารสหภาพแรงงานจิชีโร่ ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาเด็กมหาวิทยาลัยยามากุจิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำของเล่น สื่อพัฒนาสำหรับเด็กเล็ก หัวหน้าคณะครูจากศูนย์เด็กวาคากุซ่า เป็นต้น ซึ่งจะดำเนินการอบรมต่อเนื่องในตลอด ๓ วัน โดย ๒ วันหลังเป็นการลงมือปฏิบัติจริง สร้างของเล่นสำหรับเด็ก ผลิตหนังสือทำมือสำหรับเด็ก และเกมสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาเด็กระดับอนุบาล และประถมศึกษา สำหรับวันแรกเป็นการเน้นทฤษฎี และเทคนิคการใช้หนังสือภาพ นิทานสำหรับเด็ก วิทยาการวันนี้มี สอง ท่าน คือ คุณเรอิ มุรานากะ ศาสตรจารย์ด้านจิตวิทยาเด็กและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือเด็ก เขียนหนังสือเด็ก ใช้หนังสือเด็กบำบัดช่วยเด็กป่วยในโรงพยาบาล และเด็กพิการ |
|
ภาพที่ 4 คุณเรอิ มุรานากะ |
![]() ภาพที่ 5 คุณเคอิโกะ คาโต้ |
และ ที่สำคัญช่วยทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่มีประโยชน์มากมายจากวิทยากรวันนี้คือ คุณ คุมิ ผู้ทำหน้าที่เป็นล่าม เป็นเจ้าหน้าของมูลนิธิสิกขาเอเชีย และพิธีกรประจำวันคือ น้องหมวย |
![]() ภาพที่ 6 ซ้ายมือคือคุณ คุมิ ผู้ทำหน้าที่เป็นล่าม |
ศาสตราจารย์ เรอิ มุรานากะ วิทยากรท่านแรก เป็นนักจิตวิทยาเด็ก และผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือภาพปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยยามากุ จิ ด้านจิตวิทยาเด็ก อาจารย์ได้เล่าถึงการศึกษาวิธีการใช้หนังสือภาพบำบัดกับเด็กที่เจ็บป่วยใน โรงพยาบาลว่าเป็นสิ่งที่ดี ทำให้เด็ก ๆ ที่ เจ็บป่วย อยู่ในสภาวะที่ทดท้อ มีความสุขขึ้น มีความหวัง และกำลังใจ ทำให้ผู้เล่ามีความสุขไปด้วย สุขในการที่จะทำงานกับเด็ก เล่านิทานให้เด็กฟังอ่านหนังสือให้เด็กฟัง สร้างหนังสือสำหรับ และใช้กับเด็กหลาย ๆ กลุ่ม ทั้งกลุ่มเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ |
![]() ภาพที่ 7 |
อาจารย์จึงกลายเป็นวิทยากรผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับหนังสือภาพและการเล่านิทาน ส่วน คุณเคอิโกะ คาโต วิทยากรอีกคนก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือภาพ คลุกคลีอยู่กับงานด้านหนังสือภาพมานานกว่า ๒๐ ปี เป็นผู้บุกเบิกกิจกรรมเพื่อการอ่าน โดยเปิดมุมหนังสือที่บ้านของตนเองให้เด็ก ๆ เข้าไปอ่าน(ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าบุงโกะ) ซึ่งเมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อน แม่บ้านที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจเปิดมุมหนังสือที่บ้านกันมาก ต่อมาเมื่อมีห้องสมุดชุมชนมากขึ้น มุมหนังสือที่บ้านค่อย ๆ หมดไป ปัจจุบันคุณเคอิโกะ คาโตเป็นวิทยากรอิสระด้านการอบรมหนังสือภาพ ซึ่งมีองค์กรทั้งของรัฐบาลและเอกชน เชิญไปบรรยายทั้งในและต่างประเทศ ต้องขอบ คุณมูลนิธิสิกขาเอเชีย ที่จัดให้มีโอกาสได้รับฟังนิทานดี ๆ สนุก ๆ จากญี่ปุ่น และได้ข้อคิดมากมายจากพลังแห่งหนังสือเด็ก คงเป็นการดีไม่น้อยหากผู้ใหญ่ทุกคนไม่ว่า ครูบาอาจารย์หรือพ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจความต้องการ เห็นความสำคัญของเด็ก ๆ การใช้นิทานเป็นวิธีการหนึ่งที่ก่อให้เกิดความใกล้ชิดสนิทสนม ทำให้เกิดความสุขทั้งผู้เล่าและผู้ฟัง |
![]() ภาพที่ 8 |
วิทยากร ทั้งสองมีเทคนิคการเล่า ทำให้เรารู้สึกสนุก ตื่นเต้น และเศร้าในบางบทไปด้วย อย่างเช่นเรื่องเจ้าหนอนน้อยตัวนี้ ที่ออกเดินทางเที่ยวหากิน กิน กิน กิน....กินทุกอย่าง....ทุกวัน แต่มันยังไม่เคยอิ่ม..... ความหิวยังอยู่กับมันตลอดเวลา |
![]() |
ภาพที่ 9 กินผลไม้ |
![]() ภาพที 10 กินขนม กินไอศครีม |
มันกิน แอปเปิ้ล มันกินสาลี่ มันกินลูกท้อ มันกินสตรอเบอรรี่ มันกินส้ม แต่ท้องของมันก็ยังหิว สุดท้ายมันไปกินใบไม้ นั่นแหละมันจึงอิ่ม และนิ่ง... เข้าดักแด้ ก่อนจะออกมาเป็นตัวผีเสื้อแสนสวย |
![]() ภาพที่ 11 |
ตลอด วันเราฟังนิทานกันจนลืมเวลา ที่น่าประทับใจมากคือ เรื่องจากซีดีที่นำเสนอคุณปู่คนหนึ่ง อ่านหนังสือภาพ เรื่อง “กล้วย” ให้หลานที่ยังนอนแบเบาะ ฟัง และดูภาพ |
![]() ภาพที่12 |
เอาหละ...ปู่จะเล่าเรื่องกล้วยให้ฟังละนะ... คุณปู่บอก และเจ้าหลานตัวน้อยก็ตั้งอกตั้งใจฟังทีเดียว |
![]() ภาพที่ 13 |
นี่ไงกล้วย เห็นรูปแล้วใช่ไหม |
|
ภาพที่ 14 แล้วคุณปู่ก็อ่านไป เปิดหนังสือไป หลานจ้องตาแป๋ว |
![]() |
ภาพที่ 15 จบแล้วจ้ะ...เฮ้อกำลังสนุกฮะปู่ |
![]() |
คุณปู่ได้รู้ว่า หลานตัวกระจิ๋วหลิวก็มีความรู้สึก มีความคิด รับรู้อะไร อะไรได้มากกว่าที่ผู้ใหญ่เราเคยคาดเดา อีกเรื่อง หนึ่งที่อาจารย์ เรอิ มุรานากะ ยกมาให้เห็นพลังของหนังสือ นิทาน คือการใช้ตุ๊กตาหุ่นมือพูดคุยกับเด็กคนหนึ่งที่ไม่ยอมพูดเลย ภาพในวีดีโอแสดงให้ความตั้งใจจริง ความอดทน ของอาจารย์ที่ใช้ทั้งน้ำเสียง แทนเจ้าตัวตุ๊กตา และท่าทาง มากมายหลายบทบาทที่สุดเด็กน้อยก็เปล่งพูดออกมาเป็นครั้งแรกจนได้ |
![]() ภาพที่ 17 |
เจ้าตุ๊กตาหมาตัวนี้เหมือนมีชีวิตเมื่ออยู่ในมืออาจารย์ เรอิ นอกจากจะใช้หนังสือ ภาพ เสียง และท่าทางแล้ว บ่อยครั้งที่อาจารย์ถามล่าม และพวกเราว่าคำนี้ภาษาไทยใช้ว่าอย่างไร รู้แล้วอาจารย์ก็พยามยามออกเสียงเป็นภาษาไทยในการเล่า น้ำเสียงและสำเนียงอาจารย์เรียกรอยยิ้มและเสียงหัวเราะได้ไม่เคยขาด เช่น เรื่อง “คุณแตงกวาอันตรายนะ....คุณแตงกวาอันตรายนา....” ซึ่งตัวละครในเรื่อง คือ คุณแตงกวาอยากจะออกไปเที่ยว แต่ผู้ใหญ่จะเตือนเธอด้วยภาพเหตุการณ์น่ากลัว และมีคำสั้น ๆ เตือน ว่า คุณแตงกวาอันตรายนะ...โดยไม่ต้องใช้คำว่าอย่า ไปนะ สำเนียง เสนาะกระจุ๋งกระจิ๋งของภาษาญี่ปุ่นที่อาจารย์เปล่งออกมา และภาพในหนังสือแต่ละเล่มช่างมีพลัง เหมือนมีชีวิต ให้อารมณ์คล้อยตามทั้งความสนุกสนาน และเร้าใจ ฟังดูอบอุ่น แม้เราเป็นผู้ใหญ่และไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่นเลยยังไม่วาย เกิดความรู้สึกได้ อยากอ่าน อยากรู้เรื่องในหนังสือเล่มนั้น ๆ ขึ้นมา สมกับที่อาจารย์บอกว่า |